เปิดเวบเมื่อ |
10/08/2552 |
ปรับปรุงเวบเมื่อ |
19/02/2564 |
ผู้ชมทั้งหมด |
|
|
สินค้าทั้งหมด |
562 |
|
|
|
|
บทความ
คอมเพรสเซอร์คืออะไรมาทำความรู้จักกัน (อ่าน 1255/ตอบ 0) คอมเพรสเซอร์หรือเครื่องอัด
เป็นอุปกรณ์หลักที่สำคัญอันหนึ่งของระบบเครื่องทำความเย็นซึ่งทำหน้าที่ในการดูดและอัดน้ำยาในสถานะแก๊ส
วิศวกรรมแห่งประเทศไทยได้ให้ความหมายของคำศัพท์ทางวิชาการของคอมเพรสเซอร์ไว้ว่า
“เครื่องอัดคือ
อุปกรณ์ที่เพิ่มความดันของสารความเย็นที่อยู่ในสภาวะที่เป็นไอ”
คอมเพรสเซอร์จะดูดน้ำยาซูเปอร์ฮีตแก๊สความดันต่ำและอุณหภูมิต่ำจากอีวาพอเรเตอร์ผ่านเข้ามาทางท่อชักชั่น
เข้ายังทางดูดของคอมเพรสเซอร์
แล้วอัดแก๊สนี้ให้มีความดันสูงขึ้นและมีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วย
ส่งเข้ายังคอนเดนเซอร์
โดยผ่านเข้าทางท่อดิสชาร์จเพื่อไปกลั่นตัวเป็นของเหลวในคอนเดนเซอร์ด้วย
การระบายความร้อนออกจากน้ำยาอีกทีหนึ่ง
จะเห็นได้ว่าในวงจรเครื่องทำความเย็น
คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ที่แบ่งความดันในระบบระหว่างด้านความดันสูงและความดันต่ำ
น้ำยาที่ถูกดูดเข้ามาในคอมเพรสเซอร์จะมีสถานะเป็นแก๊สที่มีความดันต่ำ
และน้ำยาที่อัดส่งจากคอมเพรสเซอร์จะมีสถานะเป็นแก๊สซึ่งมีความดันสูง
คอมเพรสเซอร์แอร์และตู้เย็นตามบ้านเรือน
มักใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนบางครั้งจึงเรียกรวมกันว่า
มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ส่วนคอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์จะยึดติดอยู่กับเครื่องยนต์
และถูกขับเคลื่อนโดยสายพาน
ซึ่งจะมีแม็กเนติกคลัตช์ช่วยควบคุมการเดินและหยุดคอมเพรสเซอร์ในขณะที่กำลังเดินเครื่องยนต์อยู่
ชนิดของคอมเพรสเซอร์ คอมเพรสเซอร์ที่ใช้กันอยู่ในงานเครื่องทำความเย็น
มีแตกต่างกันอยู่หลายชนิด คือ 1.แบบลูกสูบ
(Reciprocating) 2.แบบโรตารี
(Rotary) 3.แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal
) 4.แบบเกียร์ (Gear) 5.แบบไดอะแฟรม
(Diaphragm) 6.แบบสวอชเพลต (swash
plate)
อย่างไรก็ตามมีอยู่ 3
แบบเท่านั้นที่นิยมใช้กันในงานเครื่องทำความเย็น คือ คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ
แบบโรตารี และแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์
ในจำนวนทั้งหมดนี้คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบนับว่าพบใช้กันมากที่สุด
คือพบใช้กับเครื่องทำความเย็นตั้งแต่ขนาดเล็กๆประมาณ 1/20
แรงม้าขึ้นไปจนกระทั่งถึงเครื่องทำความเย็นในระบบใหญ่ๆขนาด 50-60 ตัน
คอมเพรสเซอร์แบบโรตารีมีขีดจำกัดในการใช้งาน คือ
ใช้ได้ดีกับระบบที่มีกำลังม้าน้อยๆ เช่น ตู้เย็นที่ใช้ในครัวเรือน
หรือแอร์ที่มีขนาดไม่เกิน 1-2 ตัน แต่ถ้าระบบใหญ่กว่านี้
คอมเพรสเซอร์แบบโรตารีจะใช้งานไม่สู้ดีนัก คอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ใช้ได้เฉพาะกับเครื่องทำความเย็นระบบใหญ่ๆ
ตั้งแต่ 50-60 ตันขึ้นไป ปัจจุบันในประเทศไทย เครื่องทำความเย็นระบบใหญ่ๆ
เช่นนี้กำลังขยายการใช้งานขึ้นอย่างกว้างขวาง
เพราะศูนย์การค้าและตึกอาคารขนาดใหญ่ ๆ
ที่สร้างขึ้นใหม่มักออกแบบมาเพื่อให้มีการปรับอากาศทั้งสิ้น
|
|
|
|